การถ่ายภาพทะเลด้วยฟิลเตอร์ ND

1008 Views  | 

การถ่ายภาพทะเล (Seascape) เป็นอีกหนึ่งประสบการณ์สุดพิเศษและน่าตื่นเต้นสำหรับช่างภาพ โดยเฉพาะเมื่อต้องใช้เทคนิคการถ่ายภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์ช้ากว่าปกติด้วยการใช้ประโยชน์จากประสิทธิภาพของฟิลเตอร์ ND (Neutral Density Filter) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับควบคุมปริมาณแสงในการถ่ายถ่ายภาพในสภาพแวดล้อมที่สว่างมาก ฟิลเตอร์ ND จะช่วยให้เราควบคุมความสว่างของภาพได้ตามที่ต้องการ

ฟิลเตอร์ ND จำเป็นแค่ไหนสำหรับการถ่ายภาพทะเล?

ฟิลเตอร์ ND เป็นกระจกสีเข้มที่ช่างภาพใช้เพื่อช่วยลดปริมาณแสงที่ผ่านเข้าสู่เลนส์ เพื่อควบคุมความเร็วชัตเตอร์ให้สามารถเปิดรับแสงได้นานกว่าปกติ ซึ่งทำให้เกิดเอฟเฟกต์โมชันเบลอ (Motion Blur) สร้างความน่าสนใจให้กับภาพได้ จับภาพที่พื้นผิวของน้ำทะเลดูมีความเคลื่อนไหวหรือนุ่มนวลเหมือนหมอกได้อย่างดายโดยไม่ต้องกังวลเรื่องของแสงแดดหรือช่วงเวลาถ่ายภาพ

การใช้ฟิลเตอร์ ND ในการถ่ายภาพทะเลไม่เพียงแต่ช่วยให้ได้ผลลัพธ์ที่ดูสวยงามและน่าทึ่ง แต่ยังช่วยให้เราสามารถสร้างสรรค์เรื่องราวที่น่าจดจำได้อย่างสมบูรณ์แบบ โดยไม่พลาดเหตุการณ์สำคัญใดๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้นๆ ซึ่งนั่นคือเหตุผลที่ฟิลเตอร์ ND เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับช่างภาพที่ต้องการผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยมในการถ่ายภาพทะเล

ช่วงประมาณเที่ยงวัน | Nikon D750, Nikon 50/1.8, f/16, 4 sec, ISO100, HOYA ND400

ฟิลเตอร์ ND ชนิดต่างๆ

ฟิลเตอร์ ND มีทั้งแบบแผ่นและแบบวงกลมสามารถเลือกใช้ได้ตามความต้องการ ซึ่งแบบวงกลมจะได้รับความนิยมมากกว่าเนื่องจากราคาถูกกว่าและระบบการใช้งานที่ไม่ยุ่งยาก เพียงหมุนเกลียวเข้ากับหน้าเลนส์ก็ใช้งานได้ทันดีโดยไม่ต้องกังวลเรื่องแสงรั่วจากทางด้านข้างและแสงสะท้อนระหว่างฟิลเตอร์กับเลนส์

ฟิลเตอร์ ND มีความเข้มให้เลือกค่อนข้างหลากหลายขึ้นอยู่กับสถานการณ์ โดยมีพารามิเตอร์บอกความเข้มเป็นตัวเลข ND (ทุกค่ากำลังที่เพิ่มขึ้นของ 2 ลดแสงเพิ่มขึ้นครั้งละ 1 สต็อป) ยกตัวอย่างเช่น

ND2 ลดแสงได้ 1 สต็อป (เข้มกว่าไม่ใช้ฟิลเตอร์สองเท่า)
ND4 ลดแสงได้ 2 สต็อป (เข้มกว่า ND2 สองเท่า)
ND8 ลดแสงได้ 3 สต็อป (เข้มกว่า ND4 สองเท่า และเข้มกว่าไม่มีฟิลเตอร์ 8 เท่า)

* ND1000 (2 ยกกำลัง 10) ลดแสงได้ 10 สต็อป

การถ่ายภาพทะเลด้วยเทคนิค LONG EXPOSURE

จริงๆ แล้วการถ่ายภาพทะเลมีเทคนิคใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอด แต่หัวใจหลักมักหนีไม่พ้นเรื่องของการควบคุมความเร็วชัตเตอร์ให้เร็วหรือช้าตามความต้องการ เช่น ถ้าต้องการหยุดคลื่นทะเลที่ซัดโขดหินให้หยุดนิ่งดูมีพลังให้ใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงๆ ถ้าต้องการให้ผิวน้ำทะเลดูมีความเคลื่อนไหวของคลื่น หรือนุ่มนวลราวกับหมอกที่ปกคลุมผิวน้ำทะเลก็ลดความเร็วชัตเตอร์ลง เป็นต้น

ตัวอย่างเช่น :

ภาพนี้ถ่ายหลังพระอาทิตย์ตกราวๆ 20 นาที ผิวน้ำทะเลค่อนข้างราบเรียบมี texure ให้เห็นเพียงเล็กน้อย | Nikon D750, Nikon 24-120, f/11, 30 sec, ISO200, HOYA ND400

ภาพนี้จะเห็นว่าดวงอาทิตย์อยู่สูงไม่มากและเยื้องไปทางด้านหลังของคลื่น ใช้ฟิลเตอร์ลดแสงเล็กน้อยเพื่อเก็บความเคลื่อนไหวของคลื่น | Nikon D750, Nikon 70-300, f/16, 0.3 sec, ISO100, ND8

เปรียบเทียบความแตกต่างเมื่อถ่ายฉากเดียวกัน ภาพแรกไม่ใช้ฟิลเตอร์ (1/20 วินาที) อีกภาพใช้ฟิลเตอร์ ND400 (30 วินาที)

ฟิลเตอร์เป็นอีกหนึ่งในเครื่องมือที่ทรงพลังที่ใช้สร้างสรรค์ภาพคลื่นทะเลในแบบนามธรรมได้หลากหลายด้วยทางยาวโฟกัสและความเร็วชัตเตอร์เป็นไปได้เนื่องจากใช้ฟิลเตอร์ ภาพนี้เปิดรับแสง 1.3 วินาที เพื่อให้คลื่นบางส่วนนุ่มละมุนในขณะที่ยังคงรูปร่างของคลื่นบางส่วนไว้ โดยปกติภาพประมาณนี้ใช้ฟิลเตอร์ ND8 ก็เอาอยู่

การเลือกความเร็วชัตเตอร์ที่เหมาะสม

อันดับแรก เราต้องตัดสินใจก่อนว่าต้องการผลลัพธ์ประมาณไหน จากนั้นลองเลือกความเร็วชัตเตอร์ที่ต้องการโดยประมาณ (อ้างอิงจากตารางด้านล่าง) และขั้นตอนสุดท้ายคือคำนวณหาฟิลเตอร์ ND ที่เหมาะสม

หมายเหตุ : ความเร็วชัตเตอร์เหล่านี้ใช้สำหรับอ้างอิงเบื้องต้นเท่านั้น ผลลัพธ์จริงๆ อาจแตกต่างออกไปเนื่องจากความเร็วและทิศทางของคลื่นแตกต่างกัน ลองใช้ค่าเหล่านี้ทดลองด้วยตัวเอง

การเลือกฟิลเตอร์

ตัวอย่างเช่น ถ้ากำลังถ่ายภาพพระอาทิตย์ตก วัดแสงได้ความเร็วชัตเตอร์ 1/20 วินาที อยากได้ความเร็วชัตเตอร์ประมาณ 1/2 วินาที เพื่อลด texture ที่ยุ่งเหยิงของผิวน้ำทะเล ลองคำนวณดูคร่าวๆ ดังนี้ 1/20 วิ > ลดไปหนึ่งสต็อปจะได้ 1/10 วิ > ลดอีกหนึ่งสต็อปจะได้ 1/5 วิ > ลดอีกจะได้ 1/2.5 วิ รวมแล้วลดไป 3 สต็อปจึงจะได้ค่าความเร็วชัตเตอร์ที่ต้องการ ดังนั้นตัวเลข ND ที่ต้องการคือ 2 ยกกำลัง 3 เท่ากับ 8 - ฟิลเตอร์ ND สำหรับสถานการณ์นี้คือ ND8 นั่นเอง

อีกหนึ่งตัวอย่างที่น่าสนใจก็คือ การถ่ายภาพช่วงระหว่างวัน เช่น ขณะนั้นวัดแสงได้ความเร็วชัตเตอร์ประมาณ 1/500 วินาที แต่ความเร็วชัตเตอร์ที่อยากได้คือประมาณ 10 วินาที ต้องใช้ฟิลเตอร์ ND อะไร?

คำนวณเลย ลุย!

1 stop - 1/250
2 stops - 1/125
3 stops - 1/60
4 stops - 1/30
5 stops - 1/15
6 stops - 1/8
7 stops - 1/4
8 stops - 1/2
9 stops - 1 sec
10 stops - 2 sec
11 stops - 4 sec
12 stops - 8 sec

12 สต็อป! กรณีที่ฟิลเตอร์ ND ที่มีอยู่นั้นมีความเข้มไม่พออาจจะต้องใช้วิธีซ้อนฟิลเตอร์* เพื่อให้ได้ความเข้มที่ต้องการ เช่น จากกรณีนี้อาจใช้ ND1000 (10 สต็อป) + ND4 (2 สต็อป) หรือ ND500 (9 สต็อป) + ND8 (3 สต็อป) ซึ่งทั้งสองแบบสามารถลดแสงได้ 12 สต็อปเช่นกัน

*การซ้อนฟิลเตอร์มากเกินไปอาจทำให้เกิดขอบมืดได้

จำเป็นต้องมีฟิลเตอร์ ND ครบทุกเบอร์หรือไม่?

จากตัวอย่างการคำนวณด้านบนอาจทำให้หลายคนสงสัยว่า แล้วอย่างนี้จำเป็นต้องมีฟิลเตอร์ ND ครบทุกเบอร์หรือไม่? เพื่อที่จะครอบคลุมสภาพแสงทั้งหมด

คำตอบคือไม่จำเป็น! เราสามารถเลือกจัดตามความเหมาะสมและลักษณะการถ่ายภาพของเราได้เลย หากนึกไม่ออกลองพิจารณาเซ็ตต่อไปนี้เป็นตัวอย่างได้ครับ ND8, ND32 (หรือ 64) และ ND500 (หรือ 400) เพื่อให้ครอบคลุมสถานการณ์ที่เป็นไปได้ทั้งหมด หรือบางกรณีอาจต้องมี ND1000 ติดไว้เพื่อหลีกเลี่ยงการซ้อนฟิลเตอร์ที่มากเกินไป

เซ็ตยอดนิยม ND8, ND64 และ ND1000

ฟิลเตอร์เป็นเครื่องมือสำหรับการสร้างสรรค์ที่ทรงพลัง เมื่อไหร่ที่รู้สึกติดขัดไม่ลื่นไหลลองหาฟิลเตอร์ดีๆ สักอันติดเลนส์แล้วออกไปถ่ายภาพ คุณอาจได้พบอะไรใหม่ๆ เอฟเฟกต์ฟิลเตอร์บางอย่างอาจจำลองหรือเลียนแบบได้ในขั้นตอนตกแต่งภาพ แต่กับบางฟิลเตอร์นั้นไม่... ขอให้มีความสุขกับการถ่ายภาพครับ

ภาพประกอบโดย : Anton Gorlin

ฟิลเตอร์ที่เกี่ยวข้อง

เกี่ยวกับ HOYA

HOYA คือผู้ผลิตกระจกออปติคัล (optical glass) รายใหญ่ที่สุดในโลกโดยถือครองส่วนแบ่ง 50% ของผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับกระจกออปติคัลทั่วโลก ซึ่ง HOYA มีความโดดเด่นเป็นพิเศษในด้านของการผลิตกระจกออปติคัลที่หาคู่แข่งได้ยาก เป็นผู้จัดหากระจกให้กับผู้ผลิต optical lens ที่มีชื่อเสียงส่วนใหญ่ในญี่ปุ่นและทั่วโลก และถือครองส่วนแบ่งอันดับหนึ่งของตลาดฟิลเตอร์กล้องทั่วโลกอีกด้วย

Powered by MakeWebEasy.com
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy