ต่อไปนี้เป็นคำแนะนำสำหรับการใช้ฟิล์ม Polaroid Originals เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจสุดสุด
1. การเก็บรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม (ฟิล์มที่ยังถูกบันทึกภาพ/ยังไม่ผ่านการใช้งาน)
การเก็บรักษาฟิล์ม Polaroid Originals อย่างถูกต้องและเหมาะสมจะช่วยให้มั่นใจได้ว่าคุณสมบัติทางเคมีของฟิล์มจะยังคงอยู่ในสภาพดี สามารถถ่ายทอดสีสัน ความคมชัด และรายละเอียดได้ดีที่สุด
ควรเก็บฟิล์มไว้ในกล่องบรรจุภัณฑ์ที่ปิดมิดชิด หลีกเลี่ยงการเก็บในสภาพอากาศร้อนและชื้น เราแนะนำให้เก็บในตู้เย็นที่มีอุณหภูมิคงที่ระหว่าง 4 – 18°C ห้ามเก็บไว้ในช่องฟรีซเนื่องจากจะทำให้เกิดความเสียหาย และอาจทำให้การทำปฏิกิริยาของน้ำยาเคมีผิดพลาดระหว่างกระบวนการ
ฟิล์มของเราจะไม่สามารถทำงานได้ดีเท่าที่ควรในอุณหภูมิที่เย็นจัด ดังนั้นควรนำฟิล์มออกมาผึ่งไว้ในอุณหภูมิห้องก่อนใช้งานอย่างน้อย 1 ชั่วโมง เพื่อให้ฟิล์มปรับสู่อุณหภูมิแวดล้อมก่อนใช้งาน
อ่านบนความฉบับเต็ม: How to store Polaroid film
2. วันหมดอายุ
เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุดควรใช้ฟิล์ม Polaroid Originals ภายใน 12 เดือนนับจากวันที่ผลิต (ดูวันเดือนปีที่ผลิตใต้บรรจุภัณฑ์)
อายุของฟิล์มมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเคมีซึ่งส่งผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพของฟิล์มด้วย ในขณะที่การเก็บรักษาอย่างเหมาะสมอาจช่วยลดผลกระทบดังกล่าวได้ แต่วันหมดอายุก็เป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้ผลลัพธ์ไม่ตรงตามมาตรฐานคุณภาพของเรา การใช้ฟิล์มหมดอายุอาจจะยังใช้งานได้แต่คุณภาพจะลดลงกว่ามาตรฐานและอาจจะเกิดตำหนิต่างๆ ขึ้นได้ ซึ่งเราไม่สามารถรับการเรียกร้องการรับประกันได้
3. การบำรุงรักษาโรลเลอร์ของกล้อง
ตามหลักแล้ว ก่อนที่จะเกิดการเคลือบน้ำยาเคมีลงบนส่วนที่เป็น negative และ positive ของฟิล์ม แผ่นฟิล์มจะต้องเคลื่อนที่ผ่านโรลเลอร์คู่หนึ่งซึ่งอยู่ที่ฝาปิดช่องใส่ฟิล์มเสียก่อน หากโรลเลอร์สกปรกการฉาบน้ำยาเคมีลงบนแผ่นฟิล์มจะไม่สม่ำเสมอ นี่คือสาเหตุของการเกิดตำหนิที่ไม่พึงประสงค์บนรูปถ่ายโพลารอยด์ที่พบบ่อยที่สุด
ดังนั้น จึงควรตรวจเช็คทำความสะอาดของโรลเลอร์อยู่เสมอ โดยเปิดฝาปิดช่องใส่ฟิล์มของกล้องแล้วใช้ผ้านุ่มชุบน้ำหมาดๆ เช็ดทำความสะอาด เราแนะนำให้ตรวจเช็คโรลเลอร์ก่อนใส่ฟิล์มทุกครั้งและทำความสะอาดเป็นประจำแม้จะดูสะอาดแล้วก็ตาม
อ่านบนความฉบับเต็ม: How to clean your camera rollers
4. การชดเชยแสง
ฟิล์ม Polaroid Originals ส่วนใหญ่มีค่า ASA ที่ตรงกับฟิล์มดั้งเดิมสมัยก่อนอยู่แล้ว จึงจำเป็นต้องปรับชดเชยแสง ซึ่งประกอบด้วยฟิล์มรุ่นดังต่อไปนี้ : i-Type, 600, Spectra และฟิล์ม 8x10
ยกเว้นฟิล์ม Polaroid Originals SX-70 รุ่นปัจจุบันที่มีค่า ASA/ISO สูงกว่าโพลารอยด์ดั้งเดิมเล็กน้อย หมายความว่าฟิล์มรุ่นปัจจุบันจะไวแสงกว่าเราจึงขอแนะนำให้ปรับชดเชยแสงบนกล้องโพลารอยด์ลง 1/3 ในกรณีที่ถ่ายภาพในที่ที่มีแสงจ้าหรือมีแสงสว่างเพียงพอ
แต่หากต้องการใช้แฟลชให้ปรับชดเชยแสงไปที่พอดี (ตรงกลาง) โปรดทราบว่าแฟลชของกล้องโพลารอยด์มักใช้งานได้ในช่วง 1-2.5 เมตร
อ่านบทความฉบับเต็ม: Exposure Compensation on your Polaroid Camera
5. อุณหภูมิ
ฟิล์ม Polaroid Originals ให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในช่วงอุณหภูมิระหว่าง 13 – 28°C อุณหภูมินอกเหนือจากช่วงนี้จะส่งผลต่อฟิล์มอย่างมีนัยสำคัญทั้งในแง่ของ Development time (เวลาเกิดรูป) และสีสันที่ได้
การถ่ายภาพในที่ที่มีอากาศเย็น (ต่ำกว่า 13°C):
ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 13°C ผลลัพธ์ที่ได้มีแนวโน้มที่ภาพจะได้รับแสงมากเกินไป (over-exposed) ความเปรียบต่างของสีน้อย ค่อนข้างอมฟ้า การถ่ายภาพในที่อุณหภูมิต่ำๆ ควรเก็บฟิล์มที่ถ่ายแล้วในกระเป๋าเสื้อทันที (หรือที่อื่นที่ยังอยู่ใกล้กับร่างกาย) ควรพกกล้องไว้ใกล้กับตัวเสมอเพื่อให้กล้องและฟิล์มที่อยู่ด้านในอยู่ในอุณหภูมิที่ใช้งานได้
การถ่ายภาพในที่ที่มีอากาศร้อน (> 28°C):
ที่อุณหภูมิสูงกว่า 28°C ผลลัพธ์ที่ได้มีแนวโน้มที่โทนสีของภาพจะอมเหลือง/แดง หากต้องการถ่ายภาพในที่อุณหภูมิสูงควรเก็บฟิล์มไว้ในตู้เย็นก่อนนำมาใช้งาน ผู้ใช้สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบจากความร้อนให้น้อยที่สุดได้โดยปล่อยให้ฟิล์ม Develop ตัวเองในที่เย็น เช่น ห้องแอร์, ถุงกันความร้อน หรือใกล้เครื่องดื่มเย็นๆ (ระวังอย่าให้โดนความชื้น)
อ่านบทความฉบับเต็ม: How temperature affects Polaroid film
6. ฟิล์มชีลปกป้องฟิล์มจากแสง!
ฟิล์ม Polaroid Originals ค่อนข้างไวต่อแสงแม้ในขณะที่ถูกคายออกจากกล้อง โดยเฉพาะในช่วง 2-3 วินาทีแรกควรให้รูปอยู่ใต้แผ่นฟิล์มชีลก่อนเพื่อให้มีเวลาเพียงพอสำหรับเคลือบน้ำยาเคมีสีน้ำเงินได้ทั่วทั้งรูป
ใช้เวลาเพียงเล็กน้อยจึงสามารถนำฟิล์มออกจากใต้แผ่นฟิล์มชีลด์ได้ แต่อย่างไรก็ตามมันจะยังคงไวต่อแสง! จึงควรป้องกันจากแหล่งกำเนิดแสงด้วยวีธีต่อไปนี้
การป้องกันฟิล์มในระหว่างการ Develop ของฟิล์ม จะช่วยให้แน่ใจได้ว่าภาพที่ได้จะมีสีสันที่อิ่มสวย และรายละเอียดที่คมชัดยิ่งขึ้น (ดูเวลาของแต่ละรุ่นที่ด้านหลังบรรจุภัณฑ์)
อ่านบนความฉบับเต็ม: Shielding your photos from light
7. การจัดเก็บที่เหมาะสมสำหรับฟิล์มที่ถูกบันทึกภาพแล้ว
รูปโพลารอยด์เรียกได้ว่าเป็นรูปที่มีเพียงใบเดียวเดียวในโลก ดังนั้นอาจจะต้องการการดูแลมากเป็นพิเศษ ด้วยการเก็บรูปถ่ายเหล่านั้นไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิปกติและพ้นจากแสงแดด
30 วันหลังจากบันทึกภาพ:
เพื่อให้เก็บได้นานยิ่งขึ้น ในช่วง 30 วันแรกการเก็บรูปถ่ายโพลารอยด์ไม่ควรถูกบีบอัดหรือถูกซีล (เช่น ในอัลบั้มรูป) จะช่วยให้รูปถ่ายแห้งสนิทและกระบวนการทางเคมีหยุดโดยสิ้นเชิง
30+ วันหลังจากบันทึกภาพ:
หลังจากครบ 30 วันแล้วสามารถเก็บรูปถ่ายโพลารอยด์ในอัลบั้มได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงการเก็บในที่ชื้นและเสี่ยงต่อการสัมผัสกับแสงแดดหรือรังสียูวี -- หากต้องการใส่กรอบให้รูปถ่ายโพลารอยด์เราขอแนะนำให้เลือกใช้กรอบที่สามารถป้องกันรังสียูวีได้
อ่านบทความฉบับเต็ม: How to store Polaroid film
8. รีไซเคิลตลับฟิล์ม
เนื่องจากเราไม่สามารถนำตลับฟิล์มเปล่าจากผู้ใช้กลับมา Re-use หรือ Recycle ได้ -- ต้องขออภัยเป็นอย่างยิ่ง!
เราจึงขอแนะนำว่าให้รีไซเคิลตลับฟิล์มเปล่าตามกฎหมายในแต่ละพื้นที่ของผู้ใช้ เช่นกรณีที่ใช้ฟิล์ม 600, ฟิล์ม Spectra หรือฟิล์ม SX-70 โปรดจำไว้ว่าตลับฟิล์มรุ่นเหล่านี้บรรจุแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนอยู่ด้วย ผู้ใช้ควรแยกส่วนที่เป็นพลาสติก ส่วนที่เป็นสปริงโลหะ และส่วนที่เป็นแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนออกจากกันก่อนทิ้ง ดูคำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการดำเนินการอย่างปลอดภัยในลิงก์ด้านล่าง
อ่านบทความฉบับเต็ม: How to recycle your empty film pack
กำลังหาฟิล์มสำหรับกล้องโพลารอยด์แต่ไม่แน่ใจว่าต้องใช้ฟิล์มอะไร ตารางด้านล่างนี้ช่วยคุณได้ — [อัพเดทล่าสุด กันยายน 64]
ตารางเปรียบเทียบฟิล์ม Polaroid
ตารางเปรียบเทียบฟีเจอร์ของกล้องโพลารอยด์แต่ละรุ่น
เนื้อหาต่อไปนี้จะช่วยให้เข้าใจวิธีการใช้งานและข้อควรระวังสำหรับหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดต่างๆ ที่พบบ่อยได้
อันดับแรก : ชาร์จแบตฯ กล้องให้เต็ม (i-Type) แล้วบรรจุฟิล์ม
เรียนรู้เกี่ยวกับกล้องได้จากคู่มือการใช้งาน : คลิ๊ก
ถ้ายังไม่ได้บรรจุฟิล์ม อยากรู้ว่าต้องใช้ฟิล์มแบบไหนลองดูที่ : คู่มือการเลือกฟิล์มโพลารอยด์
กล้องโพลารอยด์มักจะมีช่องมองภาพแยกกับเลนส์ ดังนั้นสิ่งที่ช่างภาพมองเห็นกับสิ่งที่กล้องมองเห็นจะมีมุมมองที่ต่างกันเล็กน้อย เรียกว่า parallax ช่างภาพจำเป็นต้องปรับแก้การเล็งใหม่เพื่อให้องค์ประกอบภาพถูกต้อง
โดยเฉพาะเมื่อถ่ายภาพวัตถุระยะใกล้ เช่น การภาพพอร์เทรต หลังจากจัดองค์ประกอบได้ตามที่ต้องการ จากนั้นให้ปรับแก้เพิ่มเติมโดยเล็งกล้องต่ำลงพร้อมแพนกล้องไปทางขวาเล็กน้อย
สำหรับการถ่ายภาพวิวจะเกิด parallax น้อยมาก จึงไม่จำเป็นต้องปรับแก้ใดๆ
ข้อควรระวัง ช่างภาพควรเล็งไปยังวัตถุที่ต้องการอย่างถูกต้อง ไม่เช่นนั้นอาจจะได้ภาพที่มีฉากหลังคมชัดกว่าวัตถุฉากหน้าก็เป็นได้
เมื่อถ่ายภาพวัตถุในที่ร่มโดยไม่มีฉากหลังหรือกำแพงอยู่ด้านหลัง พื้นหลังของภาพจะมืด ซึ่งเป็นเรื่องปกติของการถ่ายภาพแอนะล็อก สาเหตุเกิดจากแสงแฟลชไปสะท้อนวัตถุแรกที่กระทบแล้วกล้องจับภาพวัตถุนั้นได้ทันที ในขณะที่แสงจากฉากหลังสะท้อนมาถึงกล้องภายหลังจากม่านชัตเตอร์ปิดและบันทึกภาพไปแล้ว ข้อควรจำ: การทำงานของแฟลชจะมีประสิทธิภาพลดลงเมื่อระยะห่างเพิ่มขึ้น ดังนั้น ถ้าต้องการให้ฉากหลังมีแสงสว่างเพียงพอไม่มืดดำควรให้วัตถุที่ต้องการถ่ายอยู่ด้านหน้าฉากในระยะที่เหมาะสม
การถ่ายภาพในที่ร่มโดยใช้แฟลช ควรเล็งไปที่วัตถุอย่างถูกต้อง หากเล็งกล้องไกลออกไปแล้วกดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่ง ตัววัดแสจะคำนวณระยะทางและปรับการรับแสงให้เหมาะสมกับวัตถุที่กล้องกำลังเล็ง ทำให้วัตถุที่ต้องการถ่ายจริงๆ สว่างเกินไป และอาจโฟกัสพลาดอีกด้วย
แสงคือคู่หูที่ดีที่สุดในการถ่ายภาพอินสแตนท์แอนะล็อก ควรเปิดแฟลชทุกครั้ง และควรจำระยะทำการของแฟลชให้ขึ้นใจ เพื่อหลีกเลี่ยงภาพที่มืดเนื่องจากวัตถุอยู่นอกระยะแฟลช
หากต้องการถ่ายภาพโดยไม่ใช้แฟลช สภาพแสงโดยรวมควรสว่างเพียงพอและใช้ขาตั้งกล้องหรือถือกล้องให้นิ่งที่สุด เพราะอาจเสี่ยงเกิดภาพเบลอได้ (เนื่องจากถ้าไม่เปิดแฟลช กล้องจะเปิดรับแสงนานขึ้น นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมจึงไม่ควรขยับจนกว่าภาพจะถูกฟีดออกจากกล้องเรียบร้อยแล้ว) การถ่ายภาพในที่ร่ม ภาพอาจจะมีโทนเหลือง (ชมพู/น้ำเงิน) ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิสีของแหล่งกำเนิดแสงภายในอาคาร อย่างไรก็ตาม เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุดควรเปิดแฟลชเสมอ
ฟิล์มโพลารอยด์มีช่วงไดนามิกที่ค่อนข้างแคบ จึงเป็นไปได้ยากที่จะถ่ายภาพกลางแจ้งให้มีรายละเอียดที่ครบทั้งส่วนมืดและส่วนสว่าง โดยถ้ากล้องคำนวณการเปิดรับแสงที่ส่วนมืดของภาพจะทำให้รายละเอียดบางส่วนของส่วนสว่างหายไป (over exposure) กลับกัน เมื่อส่วนสว่างของภาพเปิดรับแสงพอดีส่วนมืดของภาพจะเปิดรับแสงน้อยเกินไป เช่น ในการถ่ายภาพวิวท้องฟ้าสว่างพอดีแต่พื้นดินกลับมืดกว่าปกติ หรือพอพื้นดินสว่างท้องฟ้ากลับขาวโพลนไปหมด ผลลัพธ์คล้ายกันนี้อาจจะเกิดกับกรณีที่ช่างภาพถ่ายภาพในเงามืดโดยมีแหล่งกำเนิดแสงขนาดใหญ่อยู่ด้านหน้าด้วยเช่นกัน
เมื่ออยู่กลางแจ้งและวัตถุอยู่นอกระยะแฟลช ควรปิดแฟลชเพื่อป้องกันไม่ให้กล้องปรับรูรับแสงที่ทำให้ภาพเปิดรับแสงน้อยเกินไป ถ้าเป็นวันที่มีแดดจ้าให้ใช้แสงแดดเป็นแหล่งกำเนิดแสงหลัก โดยให้ดวงอาทิตย์อยู่ด้านหลังของช่างภาพ จากนั้นหันหน้าเข้าหาวัตถุเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดเงา ปิดแฟลชและถือกล้องให้นิ่งที่สุด
การถ่ายภาพหน้ากระจกควรมีแสงสว่างที่เพียงพอ หลีกเลี่ยงการสะท้อนแสงไฟจากกระจกโดยตรง และอย่าลืมปิดแฟลชก่อน เพราะการสะท้อนของแสงจะทำให้ตัววัดแสงของกล้องทำงานผิดพลาด และกล้องอาจจะเปิดรับแสงน้อยเกินไป ทำให้ภาพมืดหรือดำมาก
หากจำเป็น ช่างภาพสามารถปรับเพิ่ม/ลดแสงที่ตัวกล้องได้ตามความเหมาะสม
หากต้องการหลีกเลี่ยงภาพถ่ายที่มีโทนสีเขียวหรือโทนสีแดงมากเกินไป ควรเก็บฟิล์มและกล้องที่อุณหภูมิต่ำหรือสูงกว่า โดยพิจารณาจากเงื่อนไขนี้
ทั้งนี้การเล่นกับอุณหภูมิสีก็เป็นอีกเสน่ห์หนึ่งของการถ่ายภาพโพลารอยด์ด้วย ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ อุณหภูมิส่งผลต่อฟิล์มอย่างไร?
จริงอยู่ว่าการป้องกันไม่ให้ฟิล์มโดนแสงก่อนถ่ายภาพเป็นสิ่งสำคัญมาก แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ ช่างภาพจำเป็นต้องปกป้องฟิล์มจากแสงในขณะที่ฟิล์มถูกฟีดออกมาจากกล้องด้วยเช่นกัน วิธีที่ดีที่สุดคือ ปล่อยฟิล์มไว้ใต้แผ่นฟิล์มชีลด์ประมาณ 10 วินาที แล้วค่อยดึงออกมาและเก็บให้พ้นแสงจนกว่าจะดีเวลลอปเสร็จ เช่น เก็บในกระเป๋าเสื้อ หรือคว่ำทิ้งไว้บนโต๊ะ
เมื่อถ่ายภาพครบทั้ง 8 ภาพแล้ว ตอนนี้ช่างภาพจะเหลือเพียงกลักฟิล์มเปล่าๆ แล้วต้องทำอะไรกับมัน? อ่านวิธีการทิ้งอย่างถูกต้องที่นี่
หมายเหตุ : จุดทิ้งแบตเตอรี่มักจะอยู่ตามร้านค้าหรือทางเข้าห้างสรรพสินค้า หรือจุดบริการอื่นๆ
เมื่อภาพถูกฟีดออกมาและดีเวลลอปจนเกือบจะเสร็จสมบูรณ์แล้ว ยังมีข้อมูลสำคัญบางอย่างที่ควรรู้เกี่ยวกับวิธีการจัดเก็บ เพื่อหลีกเลี่ยงการเฟดจางก่อนเวลาอันควร ช่วยให้ภาพถ่ายอยู่กับเราได้นานยิ่งขึ้น อ่านวิธีเก็บรักษาภาพถ่ายโพลารอยด์ได้ที่นี่
คำว่า "นี่ไม่ใช่ภาพถ่ายดิจิทัล แต่เป็นการถ่ายภาพในแบบของอินสแตนท์แอนะล็อก" นั้นสื่อความหมายได้ 2 ประเด็นหลักๆ ดังต่อไปนี้
เคยสงสัยหรือไม่ว่าตัวเลขหลักที่ด้านหลังของฟิล์มโพลารอยด์คืออะไร?
ที่ด้านหลังของฟิล์มโพลารอยด์ทุกใบ (ยกเว้น Go) จะมีตัวเลข 10- 11 หลักอยู่ ตัวเลขเหล่านี้เปรียบเสมือนสูติบัตรของฟิล์มเพื่อใช้ระบุตัวตนของฟิล์มใบนั้นๆ ใช่ครับ...เพราะเป็นแอนะล็อกตัวเลขเหล่านี้จึงช่วยเราได้แน่นอนตอนที่เราลืมไปแล้วว่าใช้ฟิล์มอะไรถ่าย แค่บอกไม่ได้ว่าใช้กล้องอะไรถ่ายเท่านั้นเอง (ฮา)
เอาล่ะก่อนอื่นมารู้จักตัวเลขเหล่านี้กันก่อนดีกว่าครับ :
02 : ฟิล์มขาวดำ SX-70
32 : ฟิล์มขาวดำ 600, Spectra และ 8x10
70/72/73/75 : ฟิล์มสี SX-70
80/82/83/85 : ฟิล์มสี 600, Spectra และ 8x10
33 : ฟิล์มขาวดำ i-Type
81/84/86 : ฟิล์มสี i-Type
สำหรับตัวเลข 11 หลัก (ฟิล์มที่ผลิตหลัง 04/18 จะใช้ตัวเลข 11 หลัก)
ในกรณีที่จำเป็นต้องติดต่อกับเราในกรณีที่พบปัญหาเกี่ยวกับฟิล์ม การแจ้งตัวเลขเหล่านี้สำคัญมาก มันสามารถใช้เพื่อตรวจสอบและค้นหาสาเหตุที่เกิดได้
สำหรับการถ่ายภาพด้วยฟิล์มโพลารอยด์ สิ่งที่ควรรู้คือ ฟิล์มจะทำงานได้ดีที่สุดที่อุณหภูมิปานกลาง ระหว่าง 13 – 28°C อุณหภูมินอกเหนือจากนี้จะส่งผลต่อฟิล์มอย่างมีนัยสำคัญ มีความคาดเดาได้ยาก ในแง่ของเวลาเกิดภาพ (development time), สีสัน และความอิ่มตัวของสี
ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 13°C ภาพถ่ายมักจะมีการเปิดรับแสงมากเกินไป (overexposure) คอนทราสต์ของสีต่ำและมีโทนสีเขียว การถ่ายภาพที่อุณภูมิต่ำแบบนี้ควรเก็บภาพที่กำลังอยู่ในขั้นตอนการดีเวลลอปไว้ในกระเป๋าเสื้อหรือให้อยู่ใกล้กับร่างกายมากที่สุด และควรถือกล้องไว้ใกล้ตัวอีกด้วย เพื่อให้ฟิล์มและกล้องทำงานในอุณหภูมิที่อบอุ่นและเหมาะสม
จะดีมากถ้าเก็บทั้งกล้องและรูปถ่ายไว้ข้างในเสื้อกันหนาวและให้อยู่ใกล้ตัวไว้ ระวังอย่าให้ภาพงอในขณะที่กำลังดีเวลลอป
ที่อุณหภูมิสูงกว่า 28°C ภาพสีมีแนวโน้มที่จะติดโทนเหลือง/แดง การถ่ายภาพในที่ที่มีอุณหภูมิสูงควรเก็บแพ็คฟิล์มไว้ในตู้เย็นก่อนนำออกมาใช้ สามารถลดผลกระทบที่เกิดจากความร้อนได้ด้วยการปล่อยภาพให้ดีเวลลอปในที่เย็น เช่น ห้องที่มีอุณภูมิเย็นกว่า ถุงหุ้มฉนวน หรือใต้แก้วเครื่องดื่มเย็นๆ ก็ช่วยได้ (แค่ต้องระวังอย่าให้โดนความชื้น!) อ่านเคล็ดลับการถ่ายภาพในวันที่อากาศร้อน
อ่านวิธีดูแลรักษาฟิล์มโพลารอยด์อย่างถูกต้องได้ที่นี่ คลิ๊ก
ฤดูร้อน! สำหรับบางประเทศถือเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการถ่ายภาพโพลารอยด์พอสมควร เพราะมีแสงธรรมชาติและแดดที่ดีเหมาะแก่การออกถ่ายภาพ outdoor ซึ่งออกจะตรงข้ามกับบ้านเรามากๆ โดยเฉพาะเมื่ออุณหภูมิมีผลกับฟิล์มโพลารอยด์โดยตรงเนื่องจากฟิล์มมีความเซนซิทีฟและค่อนข้างไวต่อความร้อน ยิ่งช่วงเดือนเมษายนนี้ยิ่งต้องพกฟิล์มกันอย่างระมัดระวังที่สุด พยายามหลีกเลี่ยงความร้อนและเก็บฟิล์มในที่ที่มีอากาศเย็นเสมอ เพื่อผลลัพธ์ที่ดี
ในช่วงเวลาที่ฟิล์มกำลังค่อยๆ ปรากฏภาพ (develop) นั้น คือช่วงที่เกิดปฏิริยาเคมีหลายอย่างขึ้นภายใน โดยปฏิกิริยาเหล่านี้เป็นปฏิกิริยาที่เปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิ ฟิล์มโพลารอยด์ถูกออกแบบมาให้ทำงานได้ดีที่สุดที่อุณหภูมิ 13-28 °C อุณหภูมิที่สูงหรือต่ำกว่านี้จะให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันออกไป ภาพถ่ายที่สัมผัสกับอุณหภูมิสูงในขณะที่กำลังดีเวลลอปอาจมีความซีดจางกว่าปกติและติดโทนส้ม ด้านล่างคือภาพตัวอย่างจากอุณหภูมิแวดล้อมที่สูงกว่า 28 °C
ภาพโดย Deborah Santarpia
ภาพมีความอมแดงและเหลือง, ค่อนข้างโอเวอร์ (over-exposure)
ภาพโดย Nigel Willox
คอนทราสต์ต่ำ
นี่คือเคล็ดลับเล็กๆ น้อยๆ สำหรับช่วยให้ทุกคนถ่ายภาพโพลารอยด์ได้ดีขึ้นในช่วงที่อากาศบ้านเรากำลังร้อนแบบนี้
คู่มือการใช้งานและ Quick Start Guide สำหรับกล้อง Polaroid Go พร้อมสำหรับดาวน์โหลดด้านล่าง
Quick Start Guide
คู่มือการใช้งานและ Quick Start Guide สำหรับกล้อง Polaroid Now พร้อมสำหรับดาวน์โหลดด้านล่าง
Quick Start Guide
คู่มือการใช้งานและ Quick Start Guide สำหรับ Polaroid Now Generation 2 พร้อมสำหรับดาวน์โหลดด้านล่าง
Quick Start Guide
คู่มือการใช้งานและ Quick Start Guide สำหรับกล้อง Polaroid Now+ พร้อมสำหรับดาวน์โหลดด้านล่าง
Quick Start Guide
คู่มือการใช้งานและ Quick Start Guide สำหรับ Polaroid Now+ Generation 2 พร้อมสำหรับดาวน์โหลดด้านล่าง
Quick Start Guide
คู่มือการใช้งานและ Quick Start Guide สำหรับ Polaroid Hi•Print พร้อมสำหรับดาวน์โหลดด้านล่าง
Quick Start Guide