7822 จำนวนผู้เข้าชม |
วันนี้ควิกมาร์เก็ตติ้งขอเสนอบทความเกี่ยวกับการถ่ายดาวด้วย Tokina FiRIN 20mm F2.0 โดย Stan Moniz ช่างภาพมืออาชีพผู้หลงไหลการถ่ายภาพ Nightscape เป็นชีวิตจิตใจ มาดูกันว่าเขาพูดถึงเลนส์ตัวนี้กับการถ่ายดาวว่าอย่างไรบ้าง...
ผมได้ Tokina FíRIN 20mm f2.0 มาใช้อยู่ร่วม 4 เดือน FíRIN เป็นเลนส์ตัวแรกของ Tokina ที่ผลิตออกมาเพื่อใช้กับกล้อง Sony E-mout โดยเฉพาะ
FíRIN เป็นเลนส์มุมกว้างที่ถ่ายภาพความสวยงามของท้องฟ้ายามค่ำคืนได้อย่างยอดเยี่ยม ซึ่งตรงตามเป้าหมายของบล็อก (Stan Moniz ชื่นชอบการถ่าย Nightscape เป็นพิเศษ) ด้วยความที่เป็นเลนส์ที่มีความโดดเด่นทั้งสำหรับถ่ายภาพคลื่นทะเลและวิวทิวทัศน์และเหตุผลอีกสองสามข้อเกี่ยวกับการถ่ายภาพทำให้มันเป็นเลนส์ที่ครบครันสำหรับผม
ตั้งแต่ที่ผมได้ FíRIN มามันกลายเป็นเลนส์ที่ติดอยู่กับกล้องของผมแทบจะตลอด จะมีก็แค่ไม่กี่ครั้งที่สลับไปใช้เลนส์ตัวอื่นเพื่อให้เหมาะกับงานที่ทำ
พูดถึงศิลปะในการการถ่ายภาพดวงดาวอาจจะมีเรื่องยุ่งยากบ้าง ในแง่ของเทคนิคที่จะใช้ถ่ายภาพกลางคืนไปจนถึงเรื่องของอุปกรณ์ที่จะใช้ถ่าย คลิ๊กที่นี่ เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคนิคการถ่ายภาพดวงดาว สิ่งหนึ่งที่ช่างภาพมืออาชีพรู้ก็คือจำเป็นต้องมีเลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างและคมยันขอบ
ด้านล่างคุณจะได้รู้เหตุผลว่าทำไมผมจึงเชื่อมั่นในราคา ความเชี่ยวชาญ และคุณภาพของมัน เพราะถ้าพูดถึงเลนส์มุมกว้างสำหรับกล้อง Sony E-mount ดีๆ สักตัว FíRIN เป็นคนแรกที่จะเข้าเส้นชัย ผมมีวีดิโอที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับไฟล์ RAW จากเลนส์ตัวนี้ซึ่งจะแสดงให้เห็นว่า FíRIN สามารถทำอะไรได้บ้างที่ f2.0
เชื่อผมเถอะ “อยากรู้ว่าดีจริงไหมต้องพิสูจน์” ผมได้ลองถ่ายด้วยรูรับแสงกว้างสุดตั้งแต่คืนแรกที่ผมได้ FíRIN มา ทำให้ผมเชื่อว่านี่คือผลงานทางวิศวกรรมชิ้นโบว์แดงเลยทีเดียว
เท่าที่จำได้ผมมักจะหรี่ f ลง 1-2 stop เพื่อให้ดาวตรงขอบภาพชัดขึ้น และลดอาการ Comet/blooming effect บริเวณนั้นด้วย ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเลนส์เปิดรูรับแสงกว้างสุดได้ที่ f2.8 ผมจะหรี่ไปที่ f3.2 หรือ f4 เลยถ้าจำเป็น ซึ่งมันจะช่วยลดขอบม่วงรอบๆ ดาวอีกด้วย แต่กับ Tokina FíRIN เปิด f2.0 ได้เลยไม่มีปัญหา
ด้านล่างเป็นวีดิโอที่เปิดไฟล์ RAW ผ่านโปรแกรม Adobe Lightroom โดยไม่ได้ปรับแต่งใดๆ
ด้านบนเป็นภาพแนวตั้ง 4 ภาพนำมาต่อเป็นพาโนรามาในโปรแกรม Adobe Lightroom โดยไม่ได้ปรับแต่งใดๆ นอกจากลบเครื่องบินที่บินผ่านซึ่งมันกวนสายตาเล็กน้อย
ภาพครอป 100% จากมุมขวาบนของภาพ
ด้านบนเป็นภาพ before/after ภาพนี้เปิด f2.0 และทำโพสโปรเสสด้วยโปรแกรม Adobe Lightroom และ Photoshop CC.
ที่มา : http://www.stanmoniz.com/blog/2017/2/6/astrophotography-with-the-tokina-firin-20mm