5618 จำนวนผู้เข้าชม |
มือใหม่หัดเล่นกล้องโพลารอยด์ใช่ไหม? มาถูกที่แล้วครับ เนื้อหาต่อไปนี้จะช่วยให้เข้าใจวิธีการใช้งานและข้อควรระวังสำหรับหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดต่างๆ ที่พบบ่อยได้ ลองติดตามกันได้เลยครับ
อันดับแรก : ชาร์จแบตเตอรี่กล้องให้เต็ม (ถ้าเป็นกล้อง i-Type) แล้วบรรจุฟิล์มอย่างถูกต้อง
เรียนรู้เกี่ยวกับกล้องได้จากคู่มือ Quick Start Guide และคู่มือการใช้งาน : หาคู่มือการใช้งานกล้องโพลารอยด์ที่ต้องการได้ที่นี่
ถ้ายังไม่ได้บรรจุฟิล์ม...อยากรู้ว่าต้องใช้ฟิล์มแบบไหนลองดูที่ : คู่มือการเลือกฟิล์มโพลารอยด์
กล้องโพลารอยด์มักจะมีช่องมองภาพแยกกับเลนส์ ดังนั้นสิ่งที่ช่างภาพมองเห็นกับสิ่งที่กล้องมองเห็นจะมีมุมมองที่ต่างกันเล็กน้อย เรียกว่า parallax ผู้ใช้จำเป็นต้องปรับแก้การเล็งใหม่เพื่อให้องค์ประกอบของภาพที่ออกมาถูกต้อง
โดยเฉพาะเมื่อถ่ายภาพวัตถุระยะใกล้ เช่น การภาพพอร์เทรต หลังจากช่างภาพจัดองค์ประกอบเบื้องต้นได้ตามที่ต้องการแล้ว จากนั้นให้ปรับแก้เพิ่มเติมโดยเล็งกล้องต่ำลงพร้อมแพนกล้องไปทางขวาเล็กน้อย
สำหรับการถ่ายภาพวิวจะเกิด parallax น้อยมาก จึงแทบไม่จำเป็นต้องมีการปรับแก้ใดๆ
การปรับแก้อาจต้องระมัดระวังเล็กน้อย ช่างภาพควรเล็งไปยังวัตถุที่ต้องการอย่างถูกต้อง ไม่เช่นนั้นอาจจะได้ภาพที่มีฉากหลังคมชัดกว่าวัตถุฉากหน้าซึ่งหลุดโฟกัสก็เป็นได้
เมื่อถ่ายภาพวัตถุใดๆ ในที่ร่มโดยที่ไม่มีฉากหลังหรือกำแพงอยู่ด้านหลัง พื้นหลังของภาพจะมืด ซึ่งเป็นเรื่องปกติของการถ่ายภาพแอนะล็อก สาเหตุเกิดจากแสงแฟลชไปสะท้อนวัตถุแรกที่กระทบแล้วกล้องจับภาพวัตถุนั้นได้ทันที ในขณะที่แสงจากฉากหลังสะท้อนมาถึงกล้องภายหลังจากม่านชัตเตอร์ปิดและบันทึกภาพไปแล้ว ข้อควรจำ: การทำงานของแฟลชจะมีประสิทธิภาพลดลงเมื่อระยะห่างเพิ่มขึ้น ดังนั้น ถ้าต้องการให้ฉากหลังมีแสงสว่างเพียงพอไม่มืดดำควรให้วัตถุที่ต้องการถ่ายอยู่ด้านหน้าฉากในระยะที่เหมาะสม
การถ่ายภาพในที่ร่มโดยใช้แฟลช ควรเล็งไปที่วัตถุที่ต้องการอย่างถูกต้อง หากเล็งกล้องไกลออกไปแล้วกดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่ง ตัววัดแสงของกล้องจะคำนวณระยะทางและปรับการรับแสงให้เหมาะสำหรับวัตถุที่กล้องกำลังเล็งอยู่ ทำให้วัตถุที่ต้องการถ่ายจริงๆ สว่างเกินไป (over exposure) และอาจโฟกัสพลาดอีกด้วย
แสงคือคู่หูที่ดีที่สุดในการถ่ายภาพอินสแตนท์แอนะล็อก ขอแนะนำให้เปิดแฟลชทุกครั้งถ้าเป็นไปได้ และควรจำระยะทำการของแฟลชของกล้องที่ใช้งานอยู่ให้ขึ้นใจ เพื่อหลีกเลี่ยงภาพที่มืดเนื่องจากวัตถุอยู่นอกระยะแฟลช
หากต้องการถ่ายภาพโดยไม่ใช้แฟลช อย่าลืมว่าสภาพแสงโดยรวมต้องมีความสว่างเพียงพอและใช้ขาตั้งกล้องหรือถือกล้องให้นิ่งที่สุด เพราะถ้าไม่ทำแบบนั้น อาจเสี่ยงที่ภาพจะออกมาเบลอ (เนื่องจากถ้าไม่เปิดแฟลช กล้องจะเปิดรับแสงนานขึ้น นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมจึงไม่ควรขยับจนกว่าภาพจะถูกฟีดออกจากกล้องเรียบร้อยแล้ว) อย่าลืมว่าการถ่ายภาพในที่ร่ม ภาพผลลัพธ์สุดท้ายอาจจะมีโทนสีที่อมเหลือง (ชมพูหรือน้ำเงิน) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิสีของแหล่งกำเนิดแสงภายในอาคาร อย่างไรก็ตาม เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุดเราแนะนำให้เปิดแฟลชเสมอเมื่อต้องการถ่ายภาพในที่ร่ม
ฟิล์มโพลารอยด์มีช่วงไดนามิก (dynamic range) ที่ค่อนข้างแคบ จึงเป็นไปได้ยากที่จะถ่ายภาพกลางแจ้งให้มีรายละเอียดที่ครบทั้งส่วนมืดและส่วนสว่าง โดยถ้ากล้องคำนวณการเปิดรับแสงที่ส่วนมืดของภาพจะทำให้รายละเอียดบางส่วนของส่วนสว่างหายไป (over exposure) กลับกัน เมื่อส่วนสว่างของภาพมีการเปิดรับแสงที่พอดีส่วนมืดของภาพจะเปิดรับแสงน้อยเกินไป ตัวอย่างเช่น ในการถ่ายภาพวิวท้องฟ้ามีความสว่างพอดีแต่พื้นดินกลับมืดกว่าปกติ หรือพอพื้นดินสว่างพอดีท้องฟ้ากลับขาวโพลนไปหมด ผลลัพธ์คล้ายๆ กันนี้อาจจะเกิดกับกรณีที่ช่างภาพกำลังถ่ายภาพอยู่ในเงามืดโดยมีแหล่งกำเนิดแสงขนาดใหญ่ (ดวงอาทิตย์) อยู่ด้านหน้าด้วยเช่นกัน หรือภาพผลลัพธ์อาจจะมืดกว่าปกติเมื่อถ่ายภาพในวันที่มีเมฆมากด้วย
เมื่ออยู่กลางแจ้งและวัตถุอยู่นอกระยะแฟลช ขอแนะนำให้ปิดแฟลชเพื่อช่วยป้องกันไม่ให้กล้องปรับรูรับแสงที่ทำให้ภาพเปิดรับแสงน้อยเกินไป (underexposure) ถ้าเป็นวันที่มีแดดจ้าให้ใช้แสงแดดเป็นแหล่งกำเนิดแสงหลักในการถ่ายภาพ โดยจัดตำแหน่งให้ดวงอาทิตย์อยู่ด้านหลังของช่างภาพ จากนั้นหันหน้าเข้าหาวัตถุเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดเงา ปิดแปลชและถือกล้องให้นิ่งที่สุด
การถ่ายภาพหน้ากระจกควรมีแสงสว่างที่เพียงพอ โดยหลีกเลี่ยงการเกิดการสะท้อนแสงไฟจากกระจกโดยตรง และอย่าลืมปิดแฟลชก่อน เพราะไม่เช่นนั้น การสะท้อนของแสงจะทำให้ตัววัดแสงของกล้องทำงานผิดพลาดได้ และกล้องอาจจะเปิดรับแสงน้อยเกินไป ส่งผลให้ภาพที่ได้มืดหรือดำมาก
ในกรณีที่จำเป็น ช่างภาพสามารถปรับเพิ่มหรือลดแสงที่ตัวกล้องเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสม
หากต้องการหลีกเลี่ยงภาพถ่ายที่มีโทนสีเขียวหรือโทนสีแดงมากเกินไป ควรเก็บฟิล์มและกล้องที่อุณหภูมิต่ำหรือสูงกว่า โดยพิจารณาจากเงื่อนไขสองข้อนี้
ทั้งนี้การเล่นกับอุณหภูมิสีก็เป็นอีกเสน่ห์หนึ่งของการถ่ายภาพโพลารอยด์ด้วย ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ อุณหภูมิส่งผลต่อฟิล์มอย่างไร?
จริงอยู่ว่าป้องกันไม่ให้ฟิล์มโดนแสงก่อนถ่ายภาพนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมาก แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ ช่างภาพจำเป็นต้องปกป้องฟิล์มจากแสงในขณะที่ฟิล์มถูกฟีดออกมาจากกล้องด้วยเช่นกัน วิธีที่ดีที่สุดคือ ปล่อยฟิล์มไว้ใต้แผ่นฟิล์มชีลด์ประมาณ 10 วินาที แล้วค่อยดึงออกอย่างระมัดระวังและเก็บให้พ้นแสงต่อจนกว่าจะเดวิล็อปเสร็จ เช่น เก็บในกระเป๋าเสื้อ หรือคว่ำทิ้งไว้บนโต๊ะ เป็นต้น
เมื่อถ่ายภาพครบทั้ง 8 ภาพแล้ว ตอนนี้ช่างภาพจะเหลือเพียงกลักฟิล์มเปล่าๆ แล้วต้องทำอะไรกับมัน? อ่านวิธีการทิ้งอย่างถูกต้องที่นี่
หมายเหตุ : จุดทิ้งแบตเตอรี่มักจะอยู่ตามร้านค้าหรือทางเข้าห้างสรรพสินค้า หรือจุดบริการอื่นๆ
เมื่อภาพถูกฟีดออกมาและดีเวลลอปจนเกือบจะเสร็จสมบูรณ์แล้ว ยังมีข้อมูลสำคัญบางอย่างที่ควรรู้เกี่ยวกับวิธีการจัดเก็บ เพื่อหลีกเลี่ยงการเฟดจางก่อนเวลาอันควร ช่วยให้ภาพถ่ายอยู่กับเราได้นานยิ่งขึ้น อ่านวิธีเก็บรักษาภาพถ่ายโพลารอยด์ได้ที่นี่
ข้อสุดท้ายที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าข้ออื่นๆ — คำว่า "นี่ไม่ใช่ภาพถ่ายดิจิทัล แต่เป็นการถ่ายภาพในแบบของอินสแตนท์แอนะล็อก" นั้นสื่อความหมายได้ 2 ประเด็นหลักๆ ดังต่อไปนี้
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับฟิล์มโพลารอยด์ได้ที่นี่ : คลิ๊ก